ดาวเทียมในประเทศไทย


ดาวเทียมในประเทศไทย

กำเนิดดาวเทียมสัญชาติไทย

ดาวเทียมสัญชาติไทยนั้นเริ่มต้นจริงจังขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยสัญญาดำเนินกิจการสื่อสารดาวเทียมภายในประเทศไทยระหว่าง กระทรวงคมนาคม โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รมว.กระทรวงคมนาคม กับ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดย พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

โดยที่กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศเรื่อง ข้อกำหนดในการทำข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 20 กันยายน 2533 ให้ภาคเอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอขอรับสัมปทาน

โดยที่กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นที่พอใจของกระทรวง และเห็นชอบโดย ครม. จึงอนุมัติให้ บริษัท ชินวัตรฯ ได้รับสัมปทาน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ดาวเทียมสัญชาติไทย

ไทยคม 1 และ ไทยคม 2

ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536ในพิกัดตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก และย้ายไปที่ 120 องศาตะวันออกเมื่อ พฤษภาคม 2540 ส่วนดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก แทนพิกัดเดิมของ ดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน

พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในแถบอินโดจีน

จำนวนช่องสัญญาณในย่าน C-Band ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ (Transponders) ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวน 10 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ของช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 36 MHz ส่วน Ku-Band ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 54 MHz มีอายุการใช้งาน 15 ปี

ไทยคม 3

ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน (3-Axis) ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เมื่อ 16 เมษายน 2540โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่าน Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 3 สามารถให้บริการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในสี่ทวีปได้อีกด้วย มีจำนวนช่องสัญญาณ C-Band Global Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ C-Band Regional Beam จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ และมีช่องสัญญาณในย่านความถี่ ซีแบนด์ เท่ากับ 36 MHz ส่วนในย่าน Ku-Band นั้น Ku-Band Spot Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็น 2 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ เท่ากับ 54 MHz ส่วนอีก 5 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz และ Ku-Band Steerable Beam มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz

ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)

เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ Interactive ดวงแรกหรือพูดให้เข้าใจได้ง่าย ก็คือสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมดวงนี้ได้ โดยใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นแบบรังผึ้งคล้ายกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผนวกกับระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบใหม่ ทำให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) สามารถนำความถี่กลับมาใช้งานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้การรับส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังใช้ระบบบริหารการรับ-ส่งสัญญาณตามสภาพความต้องการการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อทำให้การส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพสูงสุด ดาวเทียม ไอพีสตาร์ สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งสูงกว่าดาวเทียมปกติถึง 20 เท่า ทำให้สามารถรองรับความต้องการใช้งาน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวนมากได้นับล้านคน

จำนวนบีม Ku-Spot Beam 84 บีม Ku-Shape Beam 3 บีม Ku-Broadcast Beam 7 บีม ความสามารถในการรับส่งข้อมูล 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) เทียบเท่ากับมากกว่า 1,000 ทรานสพอนเดอร์ แบบความถี่ 36 เมกะเฮิร์ตซ ของดาวเทียมทั่วไป อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก

ดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่ Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steer able Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคอินโดจีนมีตำแหน่งอยู่ที่ 78.5 องศาตะวันออก

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ

ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)



องค์ประกอบหลักของดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม รุ่น HS-376 ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณที่เรียกว่า "ทรานสพอนเดอร์" (Transponders) จำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็นความถี่ย่าน C-Band จำนวน 2 ทรานสพอนเดอร์ : มีพื้นที่ บริการครอบคลุมเฉพาะประเทศไทย และในภูมิภาคใกล้เคียงเฉพาะเขตภูมิภาคอินโดจีน



ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้

ด้านโทรทัศน์

สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่

ด้านวิทยุกระจายเสียง

สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ

ด้านโทรศัพท์

สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ



ดาวเทียมไอพีสตาร์

ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS1300-SX ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ ให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้เทคโนโลยีรับส่งสัญญาณดิจิตอลได้ทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงในเวลาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล มีจำนวนช่องสัญญาณรวม 94 บีม สมรรถนะในการส่งสัญญาณ 45 กิกะบิตต่อวินาที มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่เอเชียและแปซิฟิก 14 ประเทศตั้งแต่อินเดียถึงประเทศนิวซีแลนด์ ดาวเทียมไอพีสตาร์ สร้างโดยบริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล ประเทศสหรัฐอเมริกาไอพีสตาร์ สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ ตำแหน่ง: 0°0N 120°0E

ดาวเทียมไทพัฒ

ดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที

อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็น Payload สำคัญของดาวเทียมไทพัฒมีดังต่อไปนี้

- กล้องถ่ายภาพมุมกว้างซึ่งสามารถถ่ายภาพในย่านแสงใกล้อินฟราเรด (Near Infrared)

- กล้องถ่ายภาพมุมแคบ 3 กล้อง แต่ละกล้องถ่ายภาพในย่านแสงสีแดง เขียว และใกล้อินฟราเรด

- กล้องถ่ายวิดีโอแบบ CCD ซึ่งใช้ถ่ายภาพต่อเนื่องสำหรับการศึกษาภาพเคลื่อนไหว

หน้าที่ของดาวเทียมไทพัฒ

- ระบบ GPS (Global Positioning System) ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกที่ดาวเทียมไทพัฒ โคจรอยู่เหนือตำแหน่งนั้น บอกความสูงของดาวเทียมเหนือระดับน้ำทะเล

- ระบบสื่อสารข้อมูล เป็นระบบที่จะรับข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากพื้นโลก เมื่อโคจรผ่านไปยังบริเวณต่างๆ ของโลก ดาวเทียมจะส่งข้อมูลมาว่า มีข้อมูลที่จะส่งถึงผู้ใด ถ้าเป็นที่ต้องการ ดาวเทียมก็จะส่งข้อมูลลงมาให้

- ระบบประมวลสัญญาณแบบดิจิตอล (DIGITAL SIGNAL PRO- CESSING) หรือ DGS เป็นระบบที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายบนดาวเทียม และสามารถใช้ในการ วิเคราะห์สัญญาณที่ตรวจจับได้จากพื้นโลก อันจะมีประโยชน์ในการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์



ดาวเทียมปัจจุบันในประเทศไทย

ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ตำแหน่ง:

0°0N 120°0E

ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E

ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E

ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1]

ตำแหน่ง:

0°0N 120°0E

ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E



ข้อสรุป

ในหน้าประวัติศาสตร์ดาวเทียมไทยเกิดขึ้นมาจาก ธุรกิจ การเมือง การศึกษา และธรณีวิทยา ตลอดจนดาวเทียมเพื่อความมั่นคงที่เราอาจไม่ค่อยคุ้นหู ข่าวลืออย่างไม่น่าเชื่อถือเคยอ้างว่า มีดาวเทียมไม่ปรากฎสัญชาติเหนือน่านฟ้าไทยนับร้อยดวง แม้ผู้เขียนเองก็เชื่อว่าอย่างน้อยก็ Google Earth ที่แอบมาถ่ายภาพเหนือน่านฟ้าไทย ให้เราเห็นแม้แต่สถานที่ที่มิเคยเปิดเผยให้คนทั่วไปเห็นมานับร้อยปี เช่น ค่ายทหาร หรือแม้แต่พระบรมราชวัง ดาวเทียมเช่นนั้นน่าจะถือว่าเป็นดาวเทียมจารกรรม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดาวเทียม ของประเทศผู้นำเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมในโลกนั้น ก้าวหน้าจนเกินกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฏหมายในประเทศเราจะตามทัน แน่นอนดาวเทียมยังมีอีกหลายประเภทการใช้งาน ที่ไม่เฉพาะประเทศผู้นำเทคโนโลยีจะแค่ละเมิดสิทธิการล่วงรู้ภูมิศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เพราะในโลกนี้มีเทคโนโลยีที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น