ดาวเทียมในประเทศไทย


ดาวเทียมในประเทศไทย

กำเนิดดาวเทียมสัญชาติไทย

ดาวเทียมสัญชาติไทยนั้นเริ่มต้นจริงจังขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 โดยสัญญาดำเนินกิจการสื่อสารดาวเทียมภายในประเทศไทยระหว่าง กระทรวงคมนาคม โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รมว.กระทรวงคมนาคม กับ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดย พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

โดยที่กระทรวงคมนาคมได้ออกประกาศเรื่อง ข้อกำหนดในการทำข้อเสนอขอรับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 20 กันยายน 2533 ให้ภาคเอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอขอรับสัมปทาน

โดยที่กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นที่พอใจของกระทรวง และเห็นชอบโดย ครม. จึงอนุมัติให้ บริษัท ชินวัตรฯ ได้รับสัมปทาน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ดาวเทียมสัญชาติไทย

ไทยคม 1 และ ไทยคม 2

ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536ในพิกัดตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก และย้ายไปที่ 120 องศาตะวันออกเมื่อ พฤษภาคม 2540 ส่วนดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก แทนพิกัดเดิมของ ดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน

พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในแถบอินโดจีน

จำนวนช่องสัญญาณในย่าน C-Band ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ (Transponders) ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวน 10 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ของช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 36 MHz ส่วน Ku-Band ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ช่องสัญญาณของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 54 MHz มีอายุการใช้งาน 15 ปี

ไทยคม 3

ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน (3-Axis) ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เมื่อ 16 เมษายน 2540โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่าน Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 3 สามารถให้บริการในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในสี่ทวีปได้อีกด้วย มีจำนวนช่องสัญญาณ C-Band Global Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ C-Band Regional Beam จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ และมีช่องสัญญาณในย่านความถี่ ซีแบนด์ เท่ากับ 36 MHz ส่วนในย่าน Ku-Band นั้น Ku-Band Spot Beam จำนวน 7 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็น 2 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ เท่ากับ 54 MHz ส่วนอีก 5 ช่องทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz และ Ku-Band Steerable Beam มีความถี่ของช่องสัญญาณเท่ากับ 36 MHz

ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)

เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ Interactive ดวงแรกหรือพูดให้เข้าใจได้ง่าย ก็คือสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมดวงนี้ได้ โดยใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นแบบรังผึ้งคล้ายกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผนวกกับระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบใหม่ ทำให้ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) สามารถนำความถี่กลับมาใช้งานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้การรับส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังใช้ระบบบริหารการรับ-ส่งสัญญาณตามสภาพความต้องการการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อทำให้การส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพสูงสุด ดาวเทียม ไอพีสตาร์ สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งสูงกว่าดาวเทียมปกติถึง 20 เท่า ทำให้สามารถรองรับความต้องการใช้งาน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวนมากได้นับล้านคน

จำนวนบีม Ku-Spot Beam 84 บีม Ku-Shape Beam 3 บีม Ku-Broadcast Beam 7 บีม ความสามารถในการรับส่งข้อมูล 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) เทียบเท่ากับมากกว่า 1,000 ทรานสพอนเดอร์ แบบความถี่ 36 เมกะเฮิร์ตซ ของดาวเทียมทั่วไป อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก

ดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่ Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steer able Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคอินโดจีนมีตำแหน่งอยู่ที่ 78.5 องศาตะวันออก

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ

ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)



องค์ประกอบหลักของดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม รุ่น HS-376 ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณที่เรียกว่า "ทรานสพอนเดอร์" (Transponders) จำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็นความถี่ย่าน C-Band จำนวน 2 ทรานสพอนเดอร์ : มีพื้นที่ บริการครอบคลุมเฉพาะประเทศไทย และในภูมิภาคใกล้เคียงเฉพาะเขตภูมิภาคอินโดจีน



ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้

ด้านโทรทัศน์

สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่

ด้านวิทยุกระจายเสียง

สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ

ด้านโทรศัพท์

สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ



ดาวเทียมไอพีสตาร์

ดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS1300-SX ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ ให้บริการด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้เทคโนโลยีรับส่งสัญญาณดิจิตอลได้ทั้งข้อมูล ภาพ และเสียงในเวลาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล มีจำนวนช่องสัญญาณรวม 94 บีม สมรรถนะในการส่งสัญญาณ 45 กิกะบิตต่อวินาที มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่เอเชียและแปซิฟิก 14 ประเทศตั้งแต่อินเดียถึงประเทศนิวซีแลนด์ ดาวเทียมไอพีสตาร์ สร้างโดยบริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอรัล ประเทศสหรัฐอเมริกาไอพีสตาร์ สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ ตำแหน่ง: 0°0N 120°0E

ดาวเทียมไทพัฒ

ดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที

อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็น Payload สำคัญของดาวเทียมไทพัฒมีดังต่อไปนี้

- กล้องถ่ายภาพมุมกว้างซึ่งสามารถถ่ายภาพในย่านแสงใกล้อินฟราเรด (Near Infrared)

- กล้องถ่ายภาพมุมแคบ 3 กล้อง แต่ละกล้องถ่ายภาพในย่านแสงสีแดง เขียว และใกล้อินฟราเรด

- กล้องถ่ายวิดีโอแบบ CCD ซึ่งใช้ถ่ายภาพต่อเนื่องสำหรับการศึกษาภาพเคลื่อนไหว

หน้าที่ของดาวเทียมไทพัฒ

- ระบบ GPS (Global Positioning System) ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกที่ดาวเทียมไทพัฒ โคจรอยู่เหนือตำแหน่งนั้น บอกความสูงของดาวเทียมเหนือระดับน้ำทะเล

- ระบบสื่อสารข้อมูล เป็นระบบที่จะรับข้อมูลที่ส่งขึ้นไปจากพื้นโลก เมื่อโคจรผ่านไปยังบริเวณต่างๆ ของโลก ดาวเทียมจะส่งข้อมูลมาว่า มีข้อมูลที่จะส่งถึงผู้ใด ถ้าเป็นที่ต้องการ ดาวเทียมก็จะส่งข้อมูลลงมาให้

- ระบบประมวลสัญญาณแบบดิจิตอล (DIGITAL SIGNAL PRO- CESSING) หรือ DGS เป็นระบบที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ภาพถ่ายบนดาวเทียม และสามารถใช้ในการ วิเคราะห์สัญญาณที่ตรวจจับได้จากพื้นโลก อันจะมีประโยชน์ในการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์



ดาวเทียมปัจจุบันในประเทศไทย

ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ตำแหน่ง:

0°0N 120°0E

ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E

ไทยคม 3

ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E

ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1]

ตำแหน่ง:

0°0N 120°0E

ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3

ตำแหน่ง:

0°0N 78°5E



ข้อสรุป

ในหน้าประวัติศาสตร์ดาวเทียมไทยเกิดขึ้นมาจาก ธุรกิจ การเมือง การศึกษา และธรณีวิทยา ตลอดจนดาวเทียมเพื่อความมั่นคงที่เราอาจไม่ค่อยคุ้นหู ข่าวลืออย่างไม่น่าเชื่อถือเคยอ้างว่า มีดาวเทียมไม่ปรากฎสัญชาติเหนือน่านฟ้าไทยนับร้อยดวง แม้ผู้เขียนเองก็เชื่อว่าอย่างน้อยก็ Google Earth ที่แอบมาถ่ายภาพเหนือน่านฟ้าไทย ให้เราเห็นแม้แต่สถานที่ที่มิเคยเปิดเผยให้คนทั่วไปเห็นมานับร้อยปี เช่น ค่ายทหาร หรือแม้แต่พระบรมราชวัง ดาวเทียมเช่นนั้นน่าจะถือว่าเป็นดาวเทียมจารกรรม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดาวเทียม ของประเทศผู้นำเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมในโลกนั้น ก้าวหน้าจนเกินกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฏหมายในประเทศเราจะตามทัน แน่นอนดาวเทียมยังมีอีกหลายประเภทการใช้งาน ที่ไม่เฉพาะประเทศผู้นำเทคโนโลยีจะแค่ละเมิดสิทธิการล่วงรู้ภูมิศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เพราะในโลกนี้มีเทคโนโลยีที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย...


สื่อกลางและอุปกรณ์ในการสื่อสารข้อมูล / สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)


สื่อกลางและอุปกรณ์ในการสื่อสารข้อมูล / สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์ที่ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวน บิต ข้อมูลต่อวินาที (bits per second: bps) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้

1.สื่อกลางประเภทมีสาย

1.1. สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)

1.2. สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)

1.3 เส้นใยนำแสง(Fiber Optic)

2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย

2.1 ไมโครเวฟ (Microwave)

2.2 คลื่นวิทยุ (Broadcast Radio)

2.3 อินฟราเรด (Infrared)



อุปกรณ์ในการสื่อสารข้อมูล

1. โมเด็ม (Modem)

2. การ์ดแลน (LAN card)

3. ฮับ (hub)

4. สวิตช์ (switch)

5. อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)

6. จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless access point)



สื่อกลางประเภทไม่มีสาย

สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)

สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 0.3GHz – 300GHz ส่วนในการใช้งานนั้นส่วนมากนิยมใช้ความถี่ระหว่าง 1GHz – 60GHz เพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงในระดับกิกะเฮิรตซ์  (GHz) และเนื่องจากความของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกชื่อว่า “ไมโครเวฟ”  การส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงในระดับสายตา (Line of sight transmission) ไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง  หากลักษณะภูมิประเทศ มีภูเขาหรือตึกสูงบดบังคลื่นแล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังเป้าหมายได้ ดังนั้นแต่ละสถานีจึงจำเป็นตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดดอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนเนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณดังที่กล่าวมาแล้ว การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และทุรกันดาร



ข้อดีและข้อเสียของระบบไมโครเวฟ

ข้อดี

1. ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายกระทำได้ไม่สะดวก

2. ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม

3. ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม

4. อัตราการส่งข้อมูลสูง

ข้อเสีย

สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น พายุ หรือฟ้าผ่า



การใช้งานคลื่นไมโครเวฟ

คลื่นไมโครเวฟมีย่านความถี่กว้างมากจึงถูกนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายชนิด เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งงานในด้านสื่อสาร งานด้านตรวจจับวัตถุเคลื่อนที่ และงานด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น การใช้งานคลื่นไมโครเวฟแบ่งออกได้ดังนี้

1 ระบบเชื่อมต่อสัญญาณในระดับสายตา ใช้ในงานสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างงจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เช่นการสื่อสารโทรศัพท์ทางไกล ใช้การส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปยังสถานีทวนสัญญาณอีกจุดหนึ่งและส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายทางและการถ่ายทอดโทรทัศน์จะทำการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์จากห้องส่งโทรทัศน์หรือจากรถถ่ายทอดสดไปยังเครื่องส่งไมโครเวฟ ส่งไปปลายทางที่สายอากาศแพร่กระจายคลื่นของโทรทัศน์ช่องนั้น ระบบเชื่อมต่อสัญญาณในระดับสายตา

2 ระบบเหนือขอบฟ้า (Over the Horison) เป็นระบบสื่อสารไมโครเวฟที่ใช้ชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลกชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ช่วยในการสะท้อนและการหักเหคลื่นความถี่ไมโครเวฟ ให้ถึงปลายทางในระยะทางที่ไกลขึ้น การสื่อสารไมโครเวฟระบบนี้ไม่ค่อยนิยมใช้งาน ใช้เฉพาะในกรณีจำเป็นหรือฉุกเฉิน เช่นภูมิประเทศที่แห้งแล้งกันดาร เป็นป่าดงดิบ เป็นน้ำขวางกันและเป็นอันตราย เป็นต้น การสื่อสารแบบนี้ต้องส่งคลื่นไมโครเวฟขึ้นไปกระทบชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ทำให้เกิดการหักเหของคลื่นกลับมายังพื้นโลก ระบบสื่อสารไมโครเวฟเหนือขอบฟ้า

เนื่องจากการสื่อสารแบบนี้มีระยะทางไกลมากขึ้น ใช้การสะท้อนชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ทำให้คลื่นไมโครเวฟเกิดการกระจัดกระจายออกไป มีส่วนน้อยที่ส่งออกไปถึงปลายทาง สัญญาณที่ได้รับอ่อนมากต้องใช้เครื่องส่งที่กำลังส่งสูง และจานสายอากาศปลายทางต้องมีอัตราขยาย (Gain) สูง จงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี ข้อดีของการสื่อสารระบบไมโครเวฟเหนือขอบฟ้าคือ สามารถติดต่อสื่อสารได้ระยะทางที่ไกลมากขึ้นเป็นหลายร้อยกิโลเมตร

3 ระบบดาวเทียม (Statellite System) เป็นระบบสื่อสารไมโครเวฟที่ใช้สถานีทวนสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกกว่า 30,000 กิโลเมตร โดยใช้ดาวเทียมทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ ทำให้สามารถสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟได้ระยะทางไกลมาก ๆ นิยมใช้งานในระบบสื่อสารข้ามประเทศข้ามทวีป เป็นระบบสื่อสารที่นิยมใช้งานมากอีกระบบหนึ่ง

4 ระบบเรดาร์ (RADAR System) เรดาร์ (RADAR) ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio Detection And Ranging เป็นการใช้คลื่นความถี่ไมโครเวฟช่วยในการตรวจจับและวัดระยะทางของวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนวัตถุเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ หลักการของเรดาร์คือการส่งคลื่นไมโครเวฟออกไปจากสายอากาศในมุมแคบ ๆ เมื่อคลื่นไมโครเวฟกระทบกับวัตถุจะสะท้อนกลับมาเข้าสายอากาศอีกครั้ง นำสัญญาณที่รับเทียบกับสัญญาณเดิมและแปรค่าออกมาเป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ

5 ระบบเตาไมโครเวฟ (Microwave Over) เป็นการใช้คลื่นไมโครเวฟที่กำลังส่งสูง ๆ ส่งผ่านเข้าไปในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ ที่ทำด้วยโลหะ คลื่นไมโครเวฟสามารถสะท้อนกำแพงโลหะเหล่านั้น เกิดเป็นคลื่นไมโครเวฟกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่แคบ ๆ นั้น สามารถนำไปใช้ในการอุ่นอาหาร หรือทำอาหารสุก






ประวัติความเป็นมาของดาวเทียม


ประวัติความเป็นมาของดาวเทียม
ดาวเทียมเป็นวิวัฒนาการที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการทหารและได้พัฒนามาใช้ในทางด้านพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยากรธรณ และการสื่อสารโทรคมนาคม
ดาวเทียมสื่อสาร
นักเขียนนวนิยายและเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผู้ริเริ่มแนวคิดด้านสื่อสารผ่านดาวเทียม คือ นายอาเธอร์  ซี.คลาค ( Arthur  C.Ciarke ) เมื่อปี พ.ศ. 2488 ได้เสนอความคิดที่จะใช้สถานีดาวเทียมซึ่งลอยอยู่กับที่ในอวกาศ เหนือตำแหน่งเส้นศูนย์สูตร ที่ความสูงจากพื้นโลก 35,800 กิโลเมตร การโคจรของดาวเทียมมีความเร็วหนึ่งรอบ 24 ชั่วโมง เท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยในอวกาศเหนือพื้นโลก จำนวน 3 สถานี
วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ใน ที่สุดมีคนนำความคิดนี้มาสานต่อ และเป็นจริงเมื่อสหภาพโซเวียตรัสเซียมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศดวงแรกที่ชื่อ สปุทนิก 1 (SPUTNIK 1)  ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2500 ถือเป็นก้าวแรกแห่งการพัฒนาดาวเทียม แล้วเดือนต่อมาก็ได้ส่ง สปุทนิก 2 (SPUTNIK 2)  ดาวเทียมดวงที่2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศโดยมีสุนัขชื่อ ไลก้า (LAIKA) ขึ้นไปกับดาวเทียม
วันที่31 มกราคม ค.ศ.1958 สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาการส่งดาวเทียม เพื่อไม้ให้น้อยหน้ารัสเซีย จึงได้ส่งดาวเทียมที่ชื่อ เอ็กซ์พอเรอ 1 (EXPLORER) ขึ้งสู่ห้องอวกาศ เป็นประเทศที่สอง หลังจากนั้นรัสเซียและสหรัฐอเมริกาต่างก็ได้ส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงอวกาศอีกหลายดวง
วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1964 ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ จำนวน11ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ ที่เรียกกันว่า อินเทลแซท (INTELSAT)  ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา โดยให้สมาชิกถือหุ้นและตั้งคณะกรรมการเป็นผู้จัดการในธุรกิจต่างๆตามนโยบายของ ICSC
วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1964 ได้ทีการถ่ายทอดโทรทัศน์พีธีเปิดงานกีฬาโอลิมปิคครั้งที่ 18 จากกรุงโตเกียวผ่านดาวทียม SYNCOM III ไปสหรัฐอเมริกาเป็นการถ่ายทอดสัญญาณดาวโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก
วันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1965 COMSAT ส่งดาวเทียม INTELSAT 1 ส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก นับได้ว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารการพานิชย์ดวงแรกของโลก

ขอบข่ายของระบบการสื่อสารโดยผ่านดาวเทียม
 สามารถครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกโดยใช้ดาวเทียม 3 ดวง ยิงขึ้นไปโคจรเหนือเส้นศูนย์สูตร จากพื้นผิวโลกโดยมีระยะทางประมาณ 35,786 กิโลเมตร ในตำแหน่งที่ทำมุมซึ่งกันและกัน 120 องศา โดยจะโคจรพร้อมไปกับโลกด้วย โดยกำหนดให้ดาวเทียมแต่ละดวงโคจรรอบโลกดังนี้
ดาวเทยีมดวงที 1 โคจรอยู่เหนือ มหาสมุทรแอตแลนติก ที่จุดเส้นรุ้งที่ 335 องศาอี ใช้ติดต่อระหว่างทวีปยุโรป แอฟริกา และอเมริกา ได้แก่ดาวเทียม INTELSAT V ( F – 10 )
ดาวเทยีมดวงที 2 โคจรอยู่เหนือ มหาสมทุรแปซิฟิก ที่จุดเส้นรุ้งที่ 174 องศาอี ใช้ติดต่อระหว่างทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และอเมริกา ได้แก่ดาวเทียม INTELSAT V ( F – 3 )
ดาวเทยีมดวงที 3 โคจรอยู่เหนือ มหาสมุทรรอินเดีย ที่จุดเส้นรุ้งที่  60 องศาอี ใช้ติดต่อระหว่างทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และอเมริกา า ได้แก่ดาวเทียม INTELSAT V - Au ( F – 15 )
ระบบสื่อสารดาวเทียม  
จะต้องมีสถานีคมนาคมภาคพื้นดินตั้งตามจุดต่าง ๆ ตามพื้นโลก เพื่อเป็นสถานีรับส่งสัญญาณระหว่างพื้นโลกกับดาวเทียมโดยจะอยู่ห่าง กันอย่างมากที่สุดเท่ากับ 12,000 กม. หรือ ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นโลก โดยสถานีภาคพื้นดินจะติดต่อสถานีอีกแห่งจะต้องแลเห็นดาวเทียมดวงเดียวกัน ไม่ต่ำกว่ามุมเงย 5 องศาE
ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
     ดาวเทียมที่ใช้กันอยู่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ จำแนกตามวงโคจรที่ที่มันโคจรอยู่ดังนี้
         1. ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรทั่วไป มีวงโคจรเป็นรูปวงรีมีระนาบที่แน่นอน ตำแหน่งดาวเทียมเมื่อเทียบกับโลกก็ไม่แน่นอน มักใช้งานในด้านการสำรวจภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งทรัพยากรธรณี และงานจารกรรมทางทหาร
         2. ดาวเทียมค้างฟ้า ( GEOSTATIONARY SATELLITE ) เป็นดาวเทียมที่อยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า “ วงโคจรค้างฟ้า ” หรือ “ วงโคจรคลาร์ก ” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Arthur C. Clarke ผู้คนพบวงโคจรนี้
วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรจรในระนาบเส้นสูงศูนย์สูตร ( EQUATOR ) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุม เท่ากันกับการหมุนของโลก แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดีเป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ. ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ดาวเทียมปาลาปา ของประเทศอินโดนีเซีย และ ดาวเทียมไทยคมของประเทศไทยปัจจุบันมีดาวเทียมค้างฟ้าเป็นร้อย ๆ ดวงที่ปรากฏอยู่ในวงโคจรคลาร์ก
ประเภทของดาวเทียม
ดาวเทียม คือ วัตถุที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นโดยมันสมองของมนุษย์ซึ่งมันสามารถจะลอยอยู่ในอวกาศ และโคจรรอบโลก หรือเคลื่อนไปยังจุดหมายปลายทางที่มนุษย์ต้องการได้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่นแรงดึงดูดของโลก ซึ่งทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
การใช้งานดาวเทียมมีมากมายหลายประเภท และสามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ 11 ประเภท ดังนี้
1. ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารแบบจุดต่อจุด เช่น ดาวเทียมปาลาปา ดาวเทียมไทยคม
2. ดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น ดาวเทียม TDRS
3. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น ดาวเทียมอินมาร์แซต
4. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรศัพท์ เช่น ดาวเทียมASTRA
5. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพย์ยากรธรรมชาติ เช่น ดาวเทียม LANDSAT
6. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น ดาวเทียม METEOR, ดาวเทียม EXPLORER
7. ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น ดาวเทียม GMS ดาวเทียม NOVA 6-9
8. ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น ดาวเทียม SPAS ดาวเทียม SKYLAB
9. ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น ดาวเทียม JAS-1 หรือ ดาวเทียม FUJI
10. ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น ดาวเทียม NAVSTAR
11. ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และ อากาศยาน เช่นดาวเทียม TRANSIT ดาวเทียม COSMOS

ย่านความถึ่ในการส่งสัญญาณ
ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารจะมีอุปกรณ์การรับ - ส่งคลื่นวิทยุ ภายในตัวดาวเทียม และอาศัยทำหน้าที่ถ่ายทอดทวนสัญญาณ ( REPEATER ) ไปยังสถานีภาคพื้นดินที่ส่งสัญญาณ และรับสัญญาณการส่งสัญญาความถี่คลื่นไมโครเวฟจากสถานีภาคพื้นดินที่ส่งสัญญาณขาขึ้น เราเรียก “ ว่าการเชื่อมโยงขาขึ้น ” ( Up-link ) ซึ่งจานรับสัญญาณบนตัวดาวเทียม จะรับคลื่นสัญญาณข้อมูลภาพ, เสียง, คอมพิวเตอร์ไว้แล้ว ขยายให้มีความแรงของสัญญาณมากขึ้น แล้วจึงส่งลงมายังสถานีภาคพื้นดินตามต้องการ
ซึ่งการส่งสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีภาคพื้นดินเรียกว่า “ การเชื่อมโยงขาลง ” ( Down – link ) โดยความถี่คลื่นไมโครเวฟขาขึ้นจะแตกต่างกับความถี่ขาลงซึ่งเป็นไปตามหลักของระบบการถ่ายทอดความถี่ และหลีกเลียงการรบกวนของสัญญาณ โดยความถี่ขาขึ้นจะสูงกว่าความถี่ขาลงจากดาวเทียมเสมอ ซึ่งการส่งจะยากกว่าการรับสัญญาณ\
ระบบการส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ของดาวเทียม มี 2 แบบ
 1. จานรับดาวเทียมระบบ C-Band สัญญาณคลอบคลุมได้เป็นทวีป เมื่อสัญญาณกว้างกระจาย ทำให้สัญญาณอ่อนกว่าระบบ KU-Band  เวลารับสัญญาณจึงต้องใช้จานที่มีขนาดใหญ่ เวลาฝนตกดูได้
ข้อดี : ระบบ C-Band รับรายการฟรีทีวีจากทั่วโลก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน ไม่มีข้อจำกัดในเรื่อง     ภูมิอากาศ
ข้อเสีย : ระบบ C-Band ต้องใช้จานขนาดใหญ่ หาที่ติดตั้งได้ยาก
2.จานรับดาวเทียมระบบ KU-Band ระบบนี้จะมีความเข้มสัญญาณสูง ใช้จานขนาดเล็กรับได้ อุปกรณ์ที่สำคัญคือ Satellite Dish จานสะท้อนสัญญาณ , LNB (Low Noise Block down convertor) ตัวรับขยายและเปลี่ยนความถี่, Receiver เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม
ข้อดี : ระบบ KU-Band ใช้จานขนาดเล็กก็รับได้ ติดตั้งง่าย มีค่าบริการรายเดือน
ข้อเสีย : ระบบ KU-Band สัญญาณครอบคลุมพื้นที่น้อย ข้อจำกัด มีปัญหาเวลาฝนตก
ชื่อย่านความถี่
Downlink Freq (GHz)
Uplink Freq(GHz)
S BAND
2.555 – 2.635
5.855 – 5.935
Extended C Band (lower)
3.4 – 3.7
5.725 – 5.925
C BAND
3.7 – 4.2
5.925 – 6.425
Extended C Band (Upper)
4.5 – 4.8
6.425 – 7.075
Ku Band
10.7 – 13.25
12.75 – 14.25
Ka Band
18.3 – 22.20
27.0 – 31.0
โดยรวมๆแล้วข้อมูลจากตารางจะเห็นได้ว่าช่วง C-Band คือช่วงความถี่ต่ำระหว่าง 4 – 7 GHz ส่วนช่วง Ku Band จะอยู่ในช่วง 10 – 14 GHz ที่ความถี่สูงจานรับสัญญาณดาวเทียมก็จะมีลักษณะหนาทึบ ในขณะที่ย่าน C-Band จานรับสัญญาณดาวเทียมจะมีลักษณะโปร่งๆ เนื่องจากใช้ความถี่ต่ำกว่า สรุปความแตกต่างได้ดังนี้
จานดาวเทียม C-Band
ความถี่ในการทำงานอยู่ในย่านต่ำ 4 – 8 GHz
ครอบคลุมพื้นที่บนผิวโลกกว้างกว่า
ความเข้มสัญญาณต่ำ
จานรับจะมีลักษณะเป็นตะแกรง มีขนาดใหญ่
ไม่มีปัญหาเวลาฝนตก
จานดาวเทียม Ku-Band
ความถี่ในการทำงานอยู่ในย่านสูง 10 – 12 GHz
สามารถใช้งานที่มีขนาดเล็กลง เช่นขนาด 35 ซมได้
มีปัญหาเวลาฝนตก (Rain Fade)
อุปกรณ์รับ-ส่ง สถานีดามเทียม ประกอบด้วยส่วนปรพกอบที่สำคัญดังนี้
1.       จานสายอากาศ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นความถี่ดาวเทียม หรือรับสัญญาณดาวเทียม
2.       อุปกรณ์เครื่องส่งกำลังสูง (HPA) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณความถี่สูง ส่งไปยังดาวเทียม

3.       LNA อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่มีอัตราการขยายสูงและมีสัญญาณรบกวนต่ำ